การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2555)26.116.38.5295[1]
7 พฤษภาคม 255625.616.08.9311[1]
8 กรกฎาคม 255625.415.88.4294[2]
6 สิงหาคม 255622.313.26.6230[3]
วันที่พยากรณ์ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
มกราคม 2556PAGASAมกราคม — มีนาคม2–3 ลูก[4]
มกราคม 2556PAGASAเมษายน — มิถุนายน2–4 ลูก[4]
30 มิถุนายน 2556CWB1 มกราคม — 31 ธันวาคม23–27 ลูก[5]
กรกฎาคม 2556PAGASAกรกฎาคม — กันยายน8–11 ลูก[6]
กรกฎาคม 2556PAGASAตุลาคม — ธันวาคม5–8 ลูก[7]
ฤดูกาล 2556ศูนย์พยากรณ์พายุหมุนเขตร้อนพายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA493113
เกิดขึ้นจริง:JTWC342816
เกิดขึ้นจริง:PAGASA252011

ในฤดูกาลนี้ สำนักงานพยากรณ์อากาศของประเทศต่างๆ จะทำการทำนายการเกิดพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่นที่จะก่อตัวขึ้นในระหว่างฤดูกาลนี้ และ/หรือ พายุหมุนเขตร้อนที่จะส่งผลกระทบกับประเทศของตนเอง หน่วยงานเหลานี้รวมถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย[1][5][4]

ภายในเดือนมกราคม — มิถุนายนมีแนวโน้มสภาพภูมิอากาศเป็นตามฤดูกาล โดย PAGASA ได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 2 ถึง 3 ลูก ที่จะพัฒนาและ/หรือ เข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม และจะมี 2 ถึง 4 ลูกในเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4] ในวันที่ 20 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง ได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุเคลื่อนผ่านในระยะ 500 กิโลเมตรของฮ่องกงใกล้เคียงกับค่าปกติที่ 4 ถึง 7 ลูก ของค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 6 ลูก[8] ในวันที่ 23 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาไทย ได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุอย่างน้อย 2 ลูกเคลื่อนเข้าหาประเทศไทยในฤดู 2556 โดย 1 ลูกจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง กันยายน ในขณะที่อีก 1 ลูกจะเคลื่อนที่เข้าทางตอนใต้ของภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน[9] ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ได้มีการคาดการณ์ได้คาดการณ์ว่า จะมี 25.6 พายุโซนร้อน 16 ไต้ฝุ่น 8.9 ไต้ฝุ่น"รุนแรง"[1] ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน หลังจากที่มีพายุพัฒนาตัวแล้ว 5 ลูกในแอ่งแปซิฟิก สำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุก่อตัวอยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยที่ 25.7 กับ 23-27 ลูกที่จะก่อตัวขึ้นในปีนี้[5] โดยจะมีพายุ 2 ถึง 4 ลูกส่งผลกระทบกับไต้หวันเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 3.6[5] ในเดือนกรกฎาคม TSR ได้อัปเดตการพยากรณ์ โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ฤดูกาลเริ่มช้า แต่ก็ยังมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนตามค่าเฉลี่ย[2] ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม PAGASA ทำนายว่าจะมีพายุ 13 ถึง 19 ลูกก่อตัวหรือเจริญในพื้นที่รับผิดชอบในช่วงที่เหลือของปี[10][6]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 http://www.theaustralian.com.au/news/breaking-news... http://www.abc.net.au/news/2013-10-07/an-typhoon-f... http://www.chinadaily.com.cn/cndy/2013-08/23/conte... http://weather.news.sina.com.cn/news/2013/0719/100... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.china.org.cn/china/2013-06/22/content_2... http://news.163.com/13/0719/21/9465P9A700014JB5.ht... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents...